วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


ครูแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21


        ครูแห่งอนาคตในศตวรรษที่ 21 จะต้องสนใจในเทคโนโลยีต่าง ๆที่ มีเพิ่มมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 มีการปรับการเรียนการสอนอย่างบูรณาการมีนวัตกรรม ICT ที่มีคุณสมบัติทางด้านเทคโนโลยีโดยใช้ระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่ (Social Network ) มาสนับสนุนการเรียนรู้และการบริหารจัดการทั้งด้าน วิชาการ บุคคล งบประมาณและการบริหารงานทั่วไป เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กยุคใหม่ด้วยสารสนเทศรอบด้าน โรงเรียนที่มีความพร้อมสูงจัดแหล่งเรียนรู้ด้วยระบบ E-Classroom , E-Learning,E-Library ,E-office,E-StudentและE-Service เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการจัดการห้องเรียน ห้องสมุด การเรียนการสอน และสื่อสังคมสมัยใหม่สามารถยกระดับสู่คุณภาพสถานศึกษายุคใหม่ ที่มีประสิทธิภาพสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษา 
          จุดมุ่งหมายสู่ครูในอนาคตแห่งศตวรรษที่ 21
          ครูแห่งอนาคต หมายถึง ครูที่สามารถจัดการเรียนรู้ด้วยระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้ได้ทั่วโลกผ่านทางInternet สามารถจัดการเรื่องเอกสารได้ทุกรูปแบบเช่น word,Excle,File Mutimedia ต่าง ๆผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ที่สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนได้หลากหลายสามารถเชื่อมโยงสื่อการสอนจากห้องเรียนอิเลคทรอนิกส์ E-Classroom สามารถสืบค้น ใช้ซ้ำ ปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและพีขึ้นตลอดเวลา เป็นแหล่งสืบค้นความรู้ของนักเรียน สามารถนำสื่อต่าง ๆ ใน เครือข่ายสังคมออนไลน์ยุคใหม่Social Network เช่น Youtube  wiki Facebook  เครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย โต๊ะ กระดานอิเลคทรอนิกส์ เครื่องฉายภาพprojector  กล้องวิดิโอ webcam  คอมพิวเตอร์ เครื่องสำรองไฟฟ้า ชุดเครื่องเสียง ลำโพงและโปรแกรม software E-classroom เช่น
           1. ครูสามารถใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิด PC หรือ Macintosh ถ้าเป็นเครื่อง PC แต่ต้องมีขนาด 386 ขึ้นไป ซึ่งมีความจุของหน่วยความจำสูง ถ้าเป็นชนิด Pentium ได้/สามารถใช้ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน
           2. ครูมีการใช้ Modem ซึ่งเป็นตัวเชื่อมโยงรับ ส่งและแปลงสัญญาณภาพและเสียงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดความเร็ว 14.4 kbps (14,000 bps) หรือ 28.8 kbps (28,000 bps) (bps = bite per seconds) 
           3. ครูสามารถจัดโปรแกรมสื่อสารและโปรแกรมแอปพลิเคชั่นอินเตอร์เน็ต ที่สามารถจับภาพและตัวหนังสือได้ แต่ถ้าต้องเสริมการฟังเสียง เห็นสีสันและการเคลื่อนไหว
           ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนของครูสู่ศตวรรษที่ 21จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ฝึกให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลในการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถปฏิบัติได้จริงเพราะการที่นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์หรือลงมือปฏิบัติเองจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ดังเช่น

  ตัวอย่าง ปิรามิดแห่งการเรียนรู้

           การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย จะจำได้เพียง 5%
           การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10%
           การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ จำได้20%
           การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จะช่วยให้จำได้ 30%
           การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50%
           การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75%
           การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้ถึง 90%

            หลังจากที่สังเกตเห็นภาพปิรมิดแห่งการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่าการที่นักเรียนได้การติวให้กับเพื่อนร่วมชั้น เพราะการติวหรือการได้สอนให้ผู้อื่น(Teaching)  ก็จะทำให้เด็กจำได้ถึง 90 % การทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75% และ การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้ถึง 50%ดังนั้นครูในอนาคตแห่งศตวรรษที่ 21 จึงต้องเรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เลิกใช้การเรียนการสอนแบบเดิมที่ยืนอธิบายหน้ากระดานให้นักเรียนฟังแล้วสั่งการบ้าน แต่ครูต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้เพื่อให้นักเรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมเองโดยที่ครูคอยเป็นที่ปรึกษาของนักเรียนแทน

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

                                                


การสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ในโรงเรียน



              วิชาคอมพิวเตอร์ หากมองตามหลักสูตรแล้ว จะเห็นได้ว่าไม่มีวิชาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ตรงๆ เลย แต่จะแทรกอยู่ในกล่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ในสาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ในหลักสูตรฯ พ.ศ.2544 และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในหลักสูตรฯ พ.ศ.2551 วิชาคอมพิวเตอร์(เทคโนโลยีสารสนเทศ) เป็นวิชาที่ยังใหม่ต่อครูและนักเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆ จึงเป็นวิชาที่ยังขาดกระบวนวิธีในการสอนเป็นการเฉพาะ ในขณะที่วิชาอื่น ๆ จะมีวิธีสอนเฉพาะของตนเอง ถึงแม้ในปัจจุบัน จะมีผู้พัฒนาทรัยากรช่วยสอน วิชาคอมพิวเตอร์ออกมามากมาย อาทิเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น แต่ถึงกระนั้น กระบวนการสอนที่เป็นวิธีการ (Activity) ก็ยังไม่ค่อยมีใครพัฒนาขึ้นมา จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการสอนคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะพบว่ามีเว็บเพจที่พูดถึงวิธีสอนวิชาคอมพิวเตอร์น้อยมาก ผู้เขียนจึงเห็นว่าพวกเรา(ครูสอนคอมพิวเตอร์) ทั้งหลายน่าจะมาช่วยกันนำเสนอแนวคิด และเทคนิควิธีสอนจากประสบการณ์ของตนเอง เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งพัฒนาการในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทยต่อไป

             จากการที่ได้ร่วม อบรมเชิงปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ และร่วมพัฒนาบุคลากร ของโรงเรียนในสังกัด เกี่ยวกับการใช้ และการสอนคอมพิวเตอร์ จากการจัดกิจกรรมการอบรม พบว่า ครูและโรงเรียนแต่ละโรงเรียน มีมาตรฐานการสอนคอมพิวเตอร์ ที่แตกต่างกันมาก ขึ้นอยู่กับนโยบายของทางโรงเรียน และความถนัดของครู ซึ่งพอจะสรุปแบ่งแยกได้ดังนี้
1.ครูเก่งมาก แต่เด็กไม่ได้เรียน
2.ครูไม่เก่ง แต่เด็กได้เรียนทุกห้องทุกสัปดาห์
3.ครูไม่มีความถนัด สอนไม่ได้
4.สอนทุกสัปดาห์ แต่ละสัปดาห์สอนเรื่องโน้นบ้าง เรื่องนี้บ้างไม่มีทิศทางแน่นอน
5.สอนในลักษณะหน่วยหนึ่งของการงานอาชีพและเทคโนโลยี
6.สอนเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ชุมนุมคอมพิวเตอร์)
7.สอนเป็นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
8.สอนแล้วก็สอนไป ไม่ได้นำผลการเรียนมาใช้ตัดสินผลการเรียน อาจเรียกว่าเรียนแบบไม่มีสาระคือเรียนเพิ่มเฉยๆ
9.เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนก็ตัดสินแบ ผ กับ มผ ถ้าเรียนเป็นรายวิชาสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม ก็ ตัดเกรด


         การสอนวิชาคอมพิวเตอร์นั้น ส่วนใหญ่เป็นการสอนการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ หรือการใช้โปรแกรมวาด และตบแต่งรูปภาพ เป็นต้น
จากการที่ผู้เขียนได้พิจารณาการสอนของตนเอง และเพื่อนครูด้วยกัน มักพบว่า ครูจะมีวิธีนำเข้าสู่บทเรียน (การเริ่มต้นฝึกใช้โปรแกรม) อยู่ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ วิธีที่ 1. เริ่มสอนโดยการแนะนำให้นักเรียนรู้จักหน้าตา และเมนู รวมทั้งแนะนำเครื่องมือ (Toolbar) ต่าง ๆ บนโปรแกรมที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอ ให้ครบถ้วนก่อน แล้วจึงเริ่มต้นสอนขั้นต่อไป ส่วนวิธีที่ 2 คือ ครูเริ่มสอนโดยการให้ผู้เรียนลองพิมพ์ข้อความสั้น ๆ ซัก 1 ประโยค ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เรียนมักชอบพิมพ์ชื่อของตนเองก่อน แล้วจึงสอนให้ผู้เรียนลองใช้คำสั่งในเมนู และเครื่องมือในแถบเครื่องมือมาบูรณาการ ปรับแต่งข้อความที่ตนเองพิมพ์ลงไปให้สวยงามถูกใจ

          จากประสบการณ์การสอนของผู้เขียน พบว่าวิธีที่ 2 จะเป็นวิธีที่กระตุ้น และเร่งเร้าความสนใจของผู้เรียน ได้ดีกว่าวิธีที่ 1 ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการสอนแบบสร้างผลผลิตนั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้และฝึกฝนในสิ่งที่มีความหมาย ซึ่งหมายถึงการพิมพ์ข้อความ ที่อ่านออกมีความหมาย และสามารถใช้คำสั่ง ตบแต่งปรับปรุงข้อความนั้นได้ตามที่ต้องการ เมื่อเริ่มหัดใช้โปรแกรม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยทางการศึกษาหลาย ๆ เรื่องที่กล่าวถึงวิธีสอนที่มีความหมาย จะได้ผลสัมฤทธิ์สูงกว่าวิธีสอนที่ไม่มีความหมาย และด้วยการถูกกระตุ้น อย่างมีความหมายเช่นนี้ จึงทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ ที่จะเรียนรู้ต่อไปอีก ซึ่งทำให้ชั้นเรียนมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ ส่วนวิธีนำเข้าสู่บทเรียนแบบแนะนำนั้น ผู้เขียนพบว่ามักจะทำให้นักเรียนเบื่อหน่าย เนื่องจากต้องนั่งดูและฟังเฉย ๆ จนกว่าครูจะแนะนำส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมได้หมด นอกจากจะเป็นการเสียเวลาเปล่าแล้ว ยังทำให้ชั้นเรียนเกิดสภาวะเฉื่อยชา และบั่นทอนความสนใจของนักเรียนลงไปในที่สุด


        เทคนิควิธีการสอนที่นำเสนอในบทความนี้ ผู้เขียนหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ครูคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่มากก็น้อย แต่เหนือสิ่งอื่นได้ ผู้เขียนคาดหวังไว้ว่า อยากเห็นครูคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ออกมามีส่วนร่วมใน การพัฒนางานคอมพิวเตอร์ศึกษาของไทย ให้เจริญรุดหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อให้ประเทศไทย สามารถไต่ระดับขึ้นมาเป็นแถวหน้า ของวงการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของโลกต่อไป…


จากบทความ : ประสิทธิ์ คลังบุญครอง
โรงเรียนอนุบาลมุกดาหาร
สพป.มุกดาหาร


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559



คำว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ 1.วิทยาศาสตร์ (Science)
2.เทคโนโลยี (
Technology) 
3.วิศวกรรมศาสตร์(
Engineering)
4.คณิตศาสตร์ (
Mathematics)
           หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คำว่า STEM ถูกใช้
ครั้งแรกโดยสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (the National Science Foundation: NSF) ซึ่งใช้คำนี้เพื่ออ้างถึงโครงการหรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ อย่างไรก็ตามสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจนของคำว่า STEM มีผลให้มีการใช้และให้ความหมายของคำนี้แตกต่างกันไป (Hanover Research, 2011, p.5) เช่น มีการใช้คำว่า STEM  ในการอ้างอิงถึงกลุ่มอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 
          สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้
           การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่ 
(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ 
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ  
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21  
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน  และ 
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา  จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกวัน   



หนังสืออ้างอิง
  • National Research Council, 2012. A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.
  • Vasquez, J.A., Sneider, C., and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann.
  • http://www.teachengineering.org/view_activity.php?url=collection/cub_/activities/cub_convshoes/cub_convshoes_lesson01_activity1.xml, retrieved on April 20, 2014.
  • Hanover Research, 2011District Administration Practice.
  • http://www.sci.rmutt.ac.th/wp-content/uploads/2015/10/20151025.png
  • https://www.youtube.com/watch?v=5U4hGRCIIlc
  • http://www.stemedthailand.org/?page_id=23